Search

Blue economy คีย์ฟื้นเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยวทางทะเล | วาระทีดีอาร์ไอ - กรุงเทพธุรกิจ

hiburansemataaja.blogspot.com

10 กันยายน 2563

42

COVID-19 ส่งผลให้นานาประเทศต้องระงับกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการปิดประเทศเพื่อควบคุมการระบาดของโรค

การกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบบั่นทอนเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะธุรกิจการท่องเที่ยวที่ปิดตัวลงในหลายพื้นที่ส่งผลต่อการจ้างงานและรายได้ของประชาชน

แต่ท่ามกลางความตกต่ำของเศรษฐกิจพบว่า COVID-19 กลับสร้างแรงกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในทิศทางที่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในหลายๆ ด้าน เช่น การ Work From Home หรือการประชุมออนไลน์ ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นในรูปการประหยัดการเดินทางและการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ที่เป็นการลดต้นทุนด้านสถานที่และการเดินทางให้กับทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการ (ลด Transaction Cost) การทำธุรกรรมทางการเงิน Internet Banking หรือ e-commerce ที่ช่วยลดค่าโสหุ้ยต่างๆ เป็นการประหยัดทรัพยากรของประเทศทำให้แรงงานและปัจจัยการผลิตสามารถนำไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางอื่นมากขึ้น

เพียงแต่ในช่วงการปรับตัวเข้าสู่สังคม New Normal จะทำให้เกิดการว่างงานขึ้นและรัฐบาลต้องดำเนินมาตรการจุนเจือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกลด การว่างงาน และถ่ายโอนทรัพยากรเข้าสู่กิจการใหม่ของสังคม New Normal อีกครั้ง

นอกจากการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตสู่สังคม New Normal เป็นการสร้างโอกาสให้สังคมสามารถตักตวงประโยชน์จากการเป็นสังคมดิจิทัล ยังพบว่าการลดลงของกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยเฉพาะการท่องเที่ยวทางทะเลได้ส่งผลกระทบต่อฐานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างเห็นได้ชัด การลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวส่งผลทำให้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทยฟื้นตัวขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการที่คุณภาพน้ำทะเลดีขึ้นและการลดลงของกิจกรรมทางทะเล ภายหลังการที่ประเทศไทยประกาศ Lockdown ประมาณ 1-2 เดือน ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง

มีการรายงานตามสื่อโทรทัศน์และสื่อออนไลน์ต่างๆ ที่แสดงให้เห็นว่าในช่วงประมาณเดือน เม.ย.-พ.ค.2563 มีรายงานการฟื้นฟูของธรรมชาติและการพบสัตว์ทะเลหายากในปริมาณที่มากขึ้น เช่น หาดทรายบริเวณหาดป่าตองคุณภาพน้ำทะเลใสสะอาดขึ้นเป็นสีฟ้าคราม บริเวณแหลมจูโหย เกาะลิบง จ.ตรัง มีการพบฝูงพะยูนจำนวน 30 ตัว และเต่าทะเลจำนวน 2 ตัว ที่เกาะสมุยพบเต่าตนุเพศเมียขึ้นมาวางไข่ในรอบ 6 ปีและมีลูกเต่าฝักออกจากไข่และลงสู่ทะเลจำนวน 202 ตัว

ที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา พบฝูงฉลามหูดำเกือบ 20 ตัว ฝูงโลมาปากขวดราว 100 ตัว และพบแม่เต่ามะเฟืองจำนวน 4-5 ตัวขึ้นมาวางไข่มากที่สุดในรอบ 20 ปี ตามแนวชายฝั่ง จ.ภูเก็ตและพังงา โดยเฉพาะ จ.กระบี่พบวาฬเพชฌฆาตดำฝูงใหญ่ราว 10-15 ตัว และฝูงฉลามหูดำประมาณ 50 ตัว

การฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นอีกกรณีที่แสดงให้เห็นว่าหากมีการควบคุมกิจกรรมการท่องเที่ยวให้อยู่ในขีดความสามารถในการรองรับของธรรมชาติ จะสามารถทำให้ฐานทรัพยากรธรรมชาติสามารถฟื้นตัวกลับคืนมาและสร้างความโดดเด่นและรายได้ให้กับประเทศไทยในระยะยาวได้ หากแต่เพียงประเทศไทยต้องใช้โอกาสนี้ในการควบคุมกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเลไม่ให้กลับไปสู่รูปแบบการท่องเที่ยวที่เกินศักยภาพอย่างเช่นในอดีตก่อนเหตุการณ์ COVID-19

การบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งด้านการท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืนหรือที่เรียกว่า “เศรษฐกิจสีน้ำเงิน หรือ Blue Economy ที่ผ่านมามีความพยายามขับเคลื่อนแนวคิด Blue Economy เพื่อการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่พัฒนาบนฐานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน

แต่แนวคิดนี้ยังไม่ได้รับการนำมาปรับใช้อย่างกว้างขวางเท่าที่ควร แต่จากบทเรียนจาก COVID-19 ครั้งนี้ Blue Economy ควรเป็นแนวนโยบายที่ควรเร่งให้เกิดขึ้นในทางปฏิบัติเร็วขึ้นและขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม

ประเทศไทยมีอาณาเขตทางทะเลกว่า 320,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 60 ของอาณาเขตทางบก และมีความยาวของชายฝั่งทะเลกว่า 3,100 กิโลเมตร ครอบคลุม 23 จังหวัด ทำให้ทรัพยากรทางทะเลสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยอย่างมาก คณะอนุกรรมการจัดการองค์ความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลทำการศึกษาพบว่าประเทศไทยมีมูลค่าผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลไม่น้อยกว่า 24 ล้านล้านบาท

โดยมูลค่าทางเศรษฐกิจดังกล่าวเกิดจากกิจกรรมการท่องเที่ยว การทำประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การเป็นแหล่งเชื้อเพลิงและพลังงาน ทรัพยากรแร่ธาตุ และการพาณิชยนาวี

ผลการศึกษาของทีดีอาร์ไอพบว่า การนำแนวคิดการกำหนดเขต Blue Economy สามารถนำไปสู่การจัดการที่มีประสิทธิภาพด้วยมาตรการต่างๆ เช่น การกำหนดจำนวนนักท่องเที่ยวให้อยู่ในระดับที่ไม่เกินขีดความสามารถในการรองรับของธรรมชาติ (Carrying Capacity) การจัดระเบียบการค้าขายหน้าชายหาด หรือกำหนด Zoning ของกิจกรรมต่างๆ ให้ชัดเจน เช่น พื้นที่ทำการเกษตรชายฝั่ง พื้นที่ขายอาหาร พื้นที่และจำนวนโรงแรมและที่พัก การกำหนดเปิด-ปิดฤดูกาลท่องเที่ยวทางทะเลเพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติสามารถฟื้นตัว การกำหนดค่าธรรมเนียมในการเข้าสถานที่ท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ทั้งนี้เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถสร้างรายได้ควบคู่ไปกับการสร้างความยั่งยืนให้กับฐานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

การหยุดชะงักทางเศรษฐกิจและการสูญเสียรายได้อย่างมหาศาลสืบเนื่องจากCOVID-19 ต้องไม่เป็นการสูญเปล่า แต่ต้องนำไปสู่การสร้างสังคม New Normal ใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของประเทศอย่างชาญฉลาด

โดย...

ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

กาญจนา ย่าเสน

ดูบทความทั้งหมดของ วาระทีดีอาร์ไอ




September 10, 2020 at 04:11AM
https://ift.tt/3m2YsER

Blue economy คีย์ฟื้นเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยวทางทะเล | วาระทีดีอาร์ไอ - กรุงเทพธุรกิจ

https://ift.tt/2VxIbuS


Bagikan Berita Ini

0 Response to "Blue economy คีย์ฟื้นเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยวทางทะเล | วาระทีดีอาร์ไอ - กรุงเทพธุรกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.