ท่องเที่ยวไทย สาหัส แนะเร่งไทยเที่ยวไทยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เร่งเยียวยาผู้ประกอบการ พลิกฟื้นชุมชนเข้มแข็ง รับคนหนุ่มสาวกลับบ้าน ทางรอดหลังโควิด
น.ส.ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยในงานสัมมนา RESTART THAILAND “พลังชุมชน พลิกฟื้นฐานรากเศรษฐกิจไทยยุค Post Covid-19” ว่า ท่องเที่ยวไทย สาหัส เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ทั้งปี คาดว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติน่าจะไม่ถึง 7 ล้านคน จากที่ตั้งเป้าหมายไว้เป็น 41.8 ล้านคน
ขณะที่ ตัวเลขนักท่องเที่ยวสะสมในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-มี.ค.) มีจำนวน 6 ล้านกว่าคน โดยนักท่องเที่ยวชาวไทยช่วง 4 เดือนแรก มีนักท่องเที่ยวสะสม 39 ล้านคน/ครั้ง แต่หลังจากมีมาตรการผ่อนคลาย นักท่องเที่ยวชาวไทยเริ่มเดินทางมากขึ้นทำให้ เดือนมิถุนายน – กรกฏาคม มีนักท่องเที่ยวไทยสะสม 50 ล้านคน/ครั้ง
“การเดินทางของคนไทย เป็นการสร้างโอกาสในการอยู่รอด ของผู้ประกอบการไทย”น.ส.ฐาปนีย์ กล่าว
การท่องเที่ยวในยุคโควิด-19 สิ่งสำคัญคือ Trust ไม่ว่าจะเป็นความมั่นใจในสุขอนามัย ความมั่นใจในความปลอดภัยด้านสาธารณสุข จึงเป็นที่มาในการสร้างตราสัญลักษณ์ Safty and Health Administrtion : SHA ซึ่งเป็นโครงการยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย
ทั้งนี้ SHA จะเป็นอาวุธลับในการทำการตลาดของ ททท. สำนักงานต่างประเทศในการทำตลาดแบบ Hard Sale โดยกิจการที่สามารถขอรับมาตรฐาน SHA ได้ มี 10 หมวด ได้แก่ 1. ภัตตาคาร/ร้านอาหาร 2. โรงแรม/ที่พัก และสถานที่จัดประชุม 3. นันทนาการและสถานที่ท่องเที่ยว 4. ยานพาหนะ 5. บริษัทนำเที่ยว 6. สุขภาพและความงาม 7. ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า 8. กีฬาเพื่อการท่องเที่ยว 9. โรงละคร โรงมหรสพและการจัดกิจกรรม และ 10. ร้านค้าของที่ระลึกและร้านค้าอื่น
“5 Re” ยุทธศาสตร์หลังโควิด
นอกจากนี้ ททท. ยังวางยุทธศาสตร์หลังโควิด มี 5 Re ประกอบด้วย
- .Rebuild คือ การทำเรื่องของ Safty and Health Administrtion ร่วมกับภาคธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ช่วยเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ ในเรื่องของการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
- Rebalance คือ มีการ MOU กับ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ในการบริหารแหล่งท่องเที่ยวชุมชน
- Refresh คือ มีการทำตลาด”คิดถึง..คิดถึงเมืองไทย คิด..แล้วไปให้ถึง”
- Reboot เริ่มทำในเรื่องของ”เที่ยวปันสุข” ในโครงการเที่ยวปันสุข และ กำลังใจ วัตถุประสงค์เพื่อส่งกำลังใจให้บุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับการที่ทำให้สถานการณ์โควิดในประเทศดี อีกส่วนคือให้บริษัทนำเที่ยวมีเงินทุนหมุนเวียน
- Rebound อาจจะต้องรอสถานการณ์นิ่ง แต่อาจจะทำแบบ “ภูเก็ตโมเดล”ทั้ง Seal และ Safe คือ Seal คนที่อยู่ในพื้นที่ และ Safe นักท่องเที่ยวที่จะไป
ด้าน นายวีรศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีต รมว.ท่องเที่ยว เปิดเผยในงานเดียวกันว่า ท่องเที่ยวไทย ต้องอาศัยการเดินทางภายในประเทศ ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งในปีปกติที่คนไทยท่องเที่ยวในประเทศ 177 ล้านคน/ครั้ง ใช้จ่าย 1 ล้านล้านบาทต่อปี
แต่ในช่วงที่เกิดโควิด-19 คงไม่ใช่เวลาที่จะกระตุ้น ให้รีบควักเงินออกมาใช้ แทนที่จะคาดหวังจาก 1 ล้านล้านบาท ที่คนไทยเที่ยวไทย อาจจะคาดหวังแค่ 4 แสนล้านบาท ซึ่งใหญ่เท่ากับที่กระทรวงการคลังออก พ.ร.ก.เงินกู้ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิด-19
คืนความเข้มแข็งชุมชน
ที่ผ่านมาคนที่ติดเชื้อโควิด-19 ส่วนใหญ่จะอยู่ในเมืองใหญ่ เช่น กทม. นนทบุรี และจังหวัดใหญ่ ๆ แต่คนที่เดือดร้อนทางเศรษฐกิจมาก ๆ คือ คนต่างจังหวัด เพราะระบบ ซัพพลายเชน กระบวนการส่งของเข้าจากแหล่งผลิตในต่างจังหวัด เมื่อแหล่งบริโภคอย่างเมืองหลักลดลง คนกินเท่าเดิม แต่อัตราการเดินเข้าร้านอาหาร ภัตตาคารถูกหั่นออกไปเกิน 50% ทำให้คำสั่งซื้อไปยังผู้ปลูกผู้ผลิตลดลงทันที
“คนที่ได้รับผลกระทบสูงที่สุด คือ คนที่ออมน้อย เช่น หนุ่มสาว และคนหนุ่มสาวนี้ คือ กลุ่มคนที่ถูกดึงเข้าระบบอุตสาหกรรม ดึงเข้าสู่เมือง ดึงพลังที่เคยสร้างชุมชนหายไป”นายวีรศักดิ์ กล่าว
ดังนั้น จึงมองว่า ขณะนี้ เป็นโอกาสที่จะคืนความเข้มแข็งให้กับชุมชน เพราะความลำบากจะทำให้ไม่เลือกงาน หาทรัพยากรเพียงพอ ให้กลับคืนมาสู่การสร้างตัวได้ คือ วัฒนธรรมชุมชน ที่บรรพบุรุษเก็บไว้ให้ และปรับปรุงพัฒนา ให้กลายเป็นร่วมสมัย และเอากลับเข้าสู่ตลาดด้วยเทคโนโลยี ใช้ความสามารถในการออกแบบดีไซน์ อธิบายความห่วงใยสิ่งแวดล้อมได้ดี
ทั้งนี้ จึงเท่ากับโควิดกำลังให้โอกาสกับประเทศไทย เพราะในขณะที่ต่างประเทศ กำลังวุ่นวายกับอัตราการสูญเสีย จากโควิดสูงมาก และทุกวันยังมีคนติดเชื้อเกิน 2 แสนคนไปเรื่อย ๆ แต่ไทยมาถึงจุดที่ไม่ได้กังวล เรื่องคนติดเชื้อ แต่กังวลเรื่อง คนอด โลกกลัวอดมากกว่าเรา เพราะเราเป็นแหล่งผลิตอาหารที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีระบบโลจิสติกส์ที่แข็งแรง ซึ่งถือว่าได้เปรียบ
ด้าน นายวิชิต ประกอบโกศล นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (ATTA) กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ ต้องกระตุ้นไทยเที่ยวไทยให้มากกว่านี้ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพราะวิกฤติครั้งนี้ ทำให้รู้ว่า จะไปพึ่งพาตลาดต่างประเทศมากนักก็ไม่ดี เพราะน้ำหนักของการท่องเที่ยวเรา 70% มาจากต่างประเทศ 30% มาจากในประเทศ พอเกิดวิกฤตจึงเกิดความเสียหาย อนาคตระยะยาวต้องทำให้ได้ 50:50
สำหรับปีนี้ ไตรมาส 3/63 เป็นศูนย์ ทำให้ 5 แสนล้านบาทสูญหายไป ไตรมาส 4/63 ก็น่าจะไม่มีเข้ามา หรืออาจจะมีมาแบบจำกัด จากโครงการ 3 จังหวัด 6 เกาะนำร่อง มาเที่ยวแบบมีการกำหนดกฎเกณฑ์และมั่นใจว่าประชาชนคนไทยปลอดภัยด้วย ฉะนั้นทั้งปีรายได้จะหายไป 1.5 ล้านล้านบาท เป็นอย่างต่ำ คิดเป็น 10% ของจีดีพี
วอนรัฐเยียวยาทั่วถึง
สำหรับภาพรวมของมาตรการช่วยเหลือเยียวยา ให้กู้ ดอกเบี้ยถูก แต่เท่าที่ทราบมีแค่ 10% ที่เข้าถึงการเยียวยา ตอนนี้แรงงานภาคการท่องเที่ยวทางตรงมีไม่ต่ำกว่า 4 ล้านคน ซึ่งไม่ต่ำกว่าครึ่งต้องตกงาน อยากให้ Soft Loan ที่ออกมาขอให้เข้าถึงง่าย
สิ่งที่ภาคเอกชนเคยเสนอคือ นำค่าใช้จ่ายของปีที่ผ่านมา ก่อนเกิดโควิด มาพิจารณาช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นค่าดูแลพนักงาน ค่าออฟฟิศ เช่น ปีที่แล้วมีค่าใช้จ่าย รวม 5 แสน ก็ให้ 5 แสน ไม่ใช่พิจารณาจาก NPL
ในส่วนของ โครงการกำลังใจ ซึ่งเป็นโครงการนำร่อง เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ภาคเอกชนอยากขอให้ ขยายระยะเวลาโครงการ ไปถึงไตรมาส 1/64 เพราะนักท่องเที่ยวต่างชาติ ยังเข้ามาเหมือนเดิมไม่ได้ ฉะนั้นรัฐบาลก็ต้องเยียวยา และต้องให้ภาคเอกชนส่วนใหญ่เข้าถึง
อ่านข่าวเพิ่มเติม
Add Friend FollowAugust 20, 2020 at 07:04PM
https://ift.tt/2Edabzj
ท่องเที่ยวไทย สาหัส แนะพลิกวิกฤติสร้างชุมชนเข้มแข็ง รับหนุ่มสาวคืนถิ่น - thebangkokinsight.com
https://ift.tt/2VxIbuS
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ท่องเที่ยวไทย สาหัส แนะพลิกวิกฤติสร้างชุมชนเข้มแข็ง รับหนุ่มสาวคืนถิ่น - thebangkokinsight.com"
Post a Comment