Search

มหาดไทยส่ง รมช.ลงพื้นที่จันทบุรี-ระยองดูการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ-น้ัำท่วม - ผู้จัดการออนไลน์

hiburansemataaja.blogspot.com


ศูนย์ข่าวศรีราชา - มหาดไทยส่งรัฐมนตรีช่วยลงพื้นที่จันทบุรี-ระยอง ดูการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในภาคเกษตรและครัวเรือน พร้อมติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองหางแมว จ.จันทบุรี รวมทั้งการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมใน จ.ระยอง

วันนี้ (24 ส.ค.) นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะได้เดินทางลงพื้นที่ จ.จันทบุรี เพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองหางแมว ต.ขุนซ่อง พร้อมรับทราบปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะและความต้องการของประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยมี นายอลงกรณ์ แอคะรัจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ที่ได้นำหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่นและกลุ่มผู้ใช้น้ำคลองวังโตนดให้การต้อนรับ

สำหรับโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหางแมว เป็น 1 ใน 4 โครงการในลำน้ำย่อยของลุ่มน้ำโตนด ที่มีความจำเป็นต้องจัดสร้างขึ้นพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำที่เกิดขึ้นในพื้นที่เป็นประจำทุกปี ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำคลองพะวาใหญ่ อ่างเก็บน้ำคลองประแกด อ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด และอ่างเก็บน้ำคลองหางแมว  

โดยกรมชลประทาน ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาและจัดทำแผนหลักในการพัฒนาแหล่งน้ำและศึกษาความเหมาะสมโครงการพัฒนาลุ่มน้ำคลองวังโตนด จังหวัดจันทบุรี แล้วเสร็จเมื่อปี 2538 ซึ่งผลการศึกษาได้เสนอให้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง จำนวน 4 แห่ง ตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำคลองประแกด ที่ขณะนี้ก่อสร้างเสร็จแล้วเสร็จ

อ่างเก็บน้ำคลองพะวาใหญ่ อ่างเก็บน้ำคลองหางแมว และอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด ที่จะสามารถเสริมความมั่นคงด้านทรัพยากรแหล่งน้ำในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ




นอกจากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ยังได้มอบแนวทางในการบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันภัยแล้งและอุทกภัยพื้นที่ จ.จันทบุรี โดยขอให้หน่วยงานและทุกส่วนที่เกี่ยวข้องเร่งหาแนวทางวางแผนสร้างที่ให้น้ำอยู่ และฃสร้างทางให้น้ำไหล รวมทั้งสำรวจแหล่งกักเก็บน้ำในชุมชน หมู่บ้าน ออกแบบ ปร.4/ปร.5 รอไว้ และหากมีโครงการที่จะได้หยิบยกได้ให้เร่งดำเนินการในทันที

สำหรับโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหางแมว เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะสามารถเก็บกักน้ำได้ 80.70 ล้าน ลบ.ม. และมีพื้นที่รับประโยชน์ฤดูฝน จำนวน 62,000 ไร่ สามารถส่งน้ำให้แก่ประชาชนได้ 1,600 ครัวเรือน สามารถช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกฤดูฝนได้ 62,000 ไร่ ส่วนฤดูแล้ง 14,800 ไร่

การอุปโภคบริโภคเดือนละ 420,000 ลบ.ม. และยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืดให้ราษฎรทำการประมงเพื่อเป็นรายได้เสริม


นอกจากนี้ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มศักยภาพความมั่นคงด้านแหล่งน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก รองรับการเกิดขึ้นของโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก EEC ได้มากถึง 100 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี


มท.3 ติดตามโครงการก่อสร้างงานปรับปรุงระบบระบายน้ำแก้ปัญหาน้ำท่วม จ.ระยอง

ด้าน นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.3) พร้อมด้วยนายพงษ์นรา เย็นยิ่ง รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง นายสุวพงษ์ ภูนาคพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนและพัฒนาตามผังเมือง และนายอิทธิพงศ์ ตันมณี ผู้ตรวจราชการกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ลงพื้นที่ จ.ระยอง เพื่อติดตามความก้าวหน้าการแก้ปัญหาน้ำท่วมตามโครงการพัฒนาตามผังเมืองรวมเมืองระยอง (หลังหมู่บ้านวลีแลนด์) ต.ทับมา อ.เมืองระยอง

โดยมี ว่าที่ ร.ต.พิรุณ เหมะรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง นายธวัชชัย สุภาผล โยธาธิการและผังเมือง จ.ระยอง และนายประเสริฐ วงษ์ศรี นายกเทศมนตรีตำบลทับมา นำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ


นายสุวพงษ์ ภูนาคพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนและพัฒนาตามผังเมือง กล่าวรายงานว่า จากปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ชุมชนเมืองระยองและพื้นที่ชุมชนต่อเนื่อง กรมโยธาธิการฯ ได้ทำการศึกษาออกแบบระบบป้องกันน้ำท่วมฃและรองรับการขยายตัวของการพัฒนาเมืองและการท่องเที่ยว ด้วยการจัดตั้งงบประมาณในปี 2562-2564 เพื่อช่วยบรรเทาและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ภายใต้วงเงิน 405.48 ล้านบาท

ประกอบด้วย การจัดทำคันป้องกันริมคลองทับมา และการขุดลอกคลอง ความยาว 2,682 เมตร ปัจจุบันมีความคืบหน้าไปแล้ว 36% และในปีงบประมาณ2563-2565 ยังได้จัดตั้งงบประมาณโครงการพัฒนาพื้นที่ชุมชนเมืองแกลง อ.แกลง วงเงิน 450 ล้านบาท ส่วนในปี 2564-2566 วงเงิน 200 ล้านบาท และโครงการพัฒนาพื้นที่เทศบาลนครระยอง อ.เมืองระยอง วงเงิน 320 ล้านบาท





August 24, 2020 at 03:05PM
https://ift.tt/2Ql2OIA

มหาดไทยส่ง รมช.ลงพื้นที่จันทบุรี-ระยองดูการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ-น้ัำท่วม - ผู้จัดการออนไลน์

https://ift.tt/30ndKvp


Bagikan Berita Ini

0 Response to "มหาดไทยส่ง รมช.ลงพื้นที่จันทบุรี-ระยองดูการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ-น้ัำท่วม - ผู้จัดการออนไลน์"

Post a Comment

Powered by Blogger.