1 สิงหาคม 2563 | โดย ดร.สิริลักษณา คอมันตร์ | คอลัมน์ เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ
765
เจาะลึกหลักฐานเชิงวิทยาศาสตร์ คดี "บอส อยู่วิทยา" ที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง สรุปแล้วความเร็วของรถเฟอร์รารีอยู่ที่เท่าใด ขณะเดียวกันเมื่อรถเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาจริงๆ รู้หรือไม่ว่าสามารถไปตรวจสอบหน่วยความจำ (Blackbox) ได้ เนื่องจากจะมีการเก็บข้อมูลไว้
รถทั่วไปมีระบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานที่สามารถนำมาใช้โต้แย้ง เคลมประกันได้ โดยเฉพาะเฟอร์รารี ที่อาจเล่าเรื่องได้ว่าคนขับในเสี้ยววินาทีสุดท้าย
- ถาม: รถเฟอรารี่ มีระบบเข็มไมล์พิเศษที่ค้างอยู่ เมื่อรถเกิดอุบัติเหตุและคันที่อยู่ในเหตุการณ์ค้างชี้อยู่ที่เกิน 150 กม./ชม. เข็มค้างจริงหรือไม่
ตอบ : เข็มไม่ค้าง แต่ที่หน่วยความจำ (Blackbox) จะเก็บข้อมูลไว้หลายรูปแบบก่อนเกิดอุบัติเหตุ เช่น จำนวนครั้งที่หมุนรอบตัวเองต่อนาที (revolutions per minute: RPM) ซึ่งใช้เป็นหน่วยวัดความเร็วของการหมุนของเครื่องยนต์ ตำแหน่งเกียร์ และอื่นๆ ซึ่งเมื่อนำข้อมูลออกมาผ่าน OBD (On-Board Diagnostic) Socket ก็จะเอามาคำนวน สอบยันความถูกต้อง (cross check) เป็นความเร็วได้
รถกิ๊กก๊อกอะไรก็มีข้อมูลเด็กๆ อย่างนี้ที่ดึงออกมาได้ทั้งนั้น
- ถาม: หน่วยความจำเก็บข้อมูลอะไรบ้างที่เป็นประโยชน์ในการทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอุบัติเหตุ
ตอบ : หน่วยความจำจะเก็บข้อมูลเฉพาะช่วงหางก่อนวินาทีปะทะ (Impact) สั้นบ้าง ยาวบ้าง แล้วแต่ขนาดของหน่วยความจำ แต่เราต้องการเพียง 2-3 วินาทีก่อนปะทะเท่านั้น ซึ่งจะทำให้เรารู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นและการกระทำของคนขับเสมือนจริง แม้กระทั่งว่าคนขับเบรกหรือเปล่า หักหลบหรือเปล่า และอื่นๆ ซึ่งข้อมูลการวิคราะห์เหล่านี้ต้องอยู่ที่กองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจ (ดูภาพตัวอย่าง และ https://ift.tt/2PdIFnl)
ระบบบันทึกข้อมูลในเหตุการณ์ (Event Data Recorder หรือ EDR) เป็น “ข้อมูลสำเร็จรูป”ที่อ่านปุ๊บรู้ปั๊บว่า คนขับใช้ความเร็วเท่าใด คนขับเหยียบเบรกแรงแค่ไหน รถชะลอลงแค่ไหนหรือไม่ (Negative Velocity Delta) คนขับหักเลี้ยวกี่องศาที่พวงมาลัย รถเปลี่ยนทิศทางรวดเร็ว (Yaw Rate) เพียงใด เหล่านี้คือสิ่งที่ตำรวจจะต้องการรู้ในทุกกรณีเพื่อทำสำนวนตั้งข้อหา และต้องบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
- ถาม: ถ้าข้อมูล EDR (ใน Blackbox) ถูก “ลบทิ้ง” ไปแล้ว จะทำอย่างไร จะไป “กู้ข้อมูลดิบ” จากไหนได้หรือไม่
ตอบ : ผู้ผลิตรถยนต์ทุกยี่ห้อขายรถพร้อมสัญญา Warranty 3 ปี แสนกิโลเมตร (หรือ 5 ปี แสนห้าหมื่นกิโลเมตร) ผู้ใช้รถที่พบว่ารถมีข้อบกพร่องก็ใช้สิทธิ์ Claim ตามขอบเขตของ Warranty ที่จะให้แก้ไขจนเป็นปกติโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตรงนี้คือความจำเป็นที่ผู้ผลิตจะต้องบันทึกข้อมูลไว้ในสมองกลเพื่อจะโต้แย้งได้ว่าผู้ใช้รถเอารถไปใช้งานแบบ “ปู้ยี่ปู้ยำ” อย่างไรบ้าง
จะมีข้อมูลที่บันทึกเอาไว้ในส่วนการทำงานของเครื่องยนต์และการทำงานของระบบเกียร์ (Engine Operation และ Gearbox Operation) อย่างละเอียด เสียบ OBD socket เข้าไปเพื่ออ่านข้อมูลเครื่องยนต์ ก็จะรู้ว่าผู้ขับ “ลากรอบฯเครื่อง” ขึ้นไปถึงไหน/วันใด/เวลาใด อ่านจากข้อมูลเกียร์ ก็จะรู้ว่าเมื่อรอบฯเครื่องเป็นเท่านั้นเท่านี้ เกียร์อยู่ในเกียร์ใด เท่านั้นเราก็รู้ความเร็วของรถเป็นเวลาปัจจุบัน In Real Time
สำหรับ Ferrari รุ่น FF นั้นขับเคลื่อน 4 ล้อ เพราะฉะนั้นจะมีการวัดน้ำหนักที่กดล้อแต่ละล้อ In Real Time เพื่อที่มันจะส่งกำลังขับเคลื่อน (และเบรก) ไปยังแต่ละล้อตามสัดส่วนของแรงกด (Torque Vectoring)
น้ำหนักของแต่ละล้อ ซ้ายหน้า ขวาหน้า ซ้ายหลัง ขวาหลัง (LF/RF/LR/RR) ที่เปลี่ยนแปลง (Delta) In Real Time จะเป็นตัวบอกว่า เบรกแรงแค่ไหน (Front/Rear) และเลี้ยวแรงแค่ไหน (Diagonal)
นี่คือข้อมูลดิบที่สามารถเอามาแปลงเป็น Vehicle Dynamics ที่ “เล่าเรื่อง” ว่าคนขับ “ทำอะไร” ในเสี้ยววินาทีก่อนปะทะ
รถคันนี้เป็น “ของกลาง” ในคดีที่ยืดเยื้อ 8 ปี ใครไป “แตะต้อง” (เช่น ลบข้อมูล) ย่อมต้องรับผิดชอบในข้อหาแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักฐาน ซึ่งรวมถึงการปลี่ยน การปกปิด การปลอมแปลง หรือการทำลายหลักฐาน
(Tampering) ใช่หรือไม่
เรื่องความเร็วนั้น เป็นเลขคณิตคิดในใจ เจ้าหน้าที่พิศูจน์หลักฐานกลาง 5 คน บวกอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์จุฬาฯ ไม่ขัดแย้งในเรื่องความเร็วที่คำนวณจากระยะทางที่รถเคลื่อนที่เท่ากับ 31 เมตร และนับเฟรมในกล้องได้ 16 เฟรม (25 เฟรมต่อวินาที) ที่เหลือคือเลขคณิต คิดบน smart phone (555) ได้ 174.375 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คลาดเคลื่อน ระหว่าง 30.5-31.5 เมตร และระหว่าง 15.5-16.5 เฟรมเท่านั้น
นี่คือหลักฐานที่พวกเขาไปเก็บมาด้วยกันเมื่อ 8 ปีที่แล้ว
นี่คือนิติวิทยาศาสตร์/นิติคณิตศาสตร์ ตรงไปตรงมา
เป็นที่น่ายินดีที่ วันนี้ (29 ก.ค.) ท่านนายกฯ ลงนามในคำสั่งสำนักนายกฯ ที่ 225/2563 แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กรณีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาในคดีขับรถชนเจ้าหน้าที่ตำรวจขณะขับขี่จักรยานยนต์ระหว่างปฏิบัติหน้าที่จนเป็นเหตุให้เสียชีวิต เหตุเกิดในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2555
มูลนิธินโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล (Foundation for Public Policy for Good Governance: PPGG) ขอเรียกร้องให้เปิดเผยข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ที่กล่าวไปแล้วต่อสาธารณะ เพราะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าคำให้การของพยาน
July 31, 2020 at 11:30PM
https://ift.tt/30fgavS
อัยการไม่ฟ้องคดีชนตำรวจ เรามาดูหลักฐานเชิงวิทยาศาสตร์ดีกว่า - กรุงเทพธุรกิจ
https://ift.tt/30ndKvp
Bagikan Berita Ini
0 Response to "อัยการไม่ฟ้องคดีชนตำรวจ เรามาดูหลักฐานเชิงวิทยาศาสตร์ดีกว่า - กรุงเทพธุรกิจ"
Post a Comment