Search

คอลัมน์การเมือง - ความเป็นผู้นำ ดูกันในยามวิกฤติ - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

hiburansemataaja.blogspot.com

หากเปรียบสถานการณ์โรคจากไวรัสโควิด-19 เสมือนกลุ่มคนติดอยู่ในถ้ำมืดใหญ่ที่เต็มไปด้วยภยันตราย ความท้าทายต่อผู้นำกลุ่มก็คือ จะหาทางนำพาผู้ติดตามออกจากถ้ำนี้โดยปลอดภัยอย่างไร ซึ่งจำนวนผู้รอดชีวิต รวมทั้งระยะเวลาที่ใช้ไป จะเป็นตัวบ่งบอกความสามารถของผู้นำนั้นๆ ว่ามีองค์ความรู้ มีความเข้าใจต่อประเด็นปัญหามากน้อยแค่ไหน มีความสามารถในการมองในภาพรวมหรือไม่ สามารถวิเคราะห์ปัญหาสำคัญๆ ว่ามันอยู่ตรงไหน จนสามารถแก้ไขได้ตรงจุด
อย่างรวดเร็ว

โดยทั่วไปเมื่อติดอยู่ในถ้ำมืด สิ่งแรกที่ควรทำก็คือการสร้างแสงสว่าง ไม่ว่าจะเป็นการจุดคบเพลิง ตะเกียง หรือไฟฉาย ก็แล้วแต่อุปกรณ์ที่มีติดตัวกันมา
เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับผู้ติดตามว่าพอมองเห็นสภาพแวดล้อม แล้วค่อยทำการสังเกตทิศทางลม หรือเทียบกับลักษณะเส้นทางที่หลงเข้ามา จะได้วางแผนหาทางออกให้กับกลุ่มของตน เช่นเดียวกับการแก้ไขปัญหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ในขั้นต้น

หลายผู้นำรัฐบาลก็ได้ทุ่มเทให้กับการวิจัย ค้นหา รวบรวมข้อมูลสถิติตัวเลขเพื่อให้ได้มาซึ่งความเข้าอกเข้าใจ ที่มาที่ไป ความสามารถในการแพร่กระจาย เกี่ยวกับตัวโรคร้าย ซึ่งเมื่อพอมีข้อมูลบ้างแล้ว ก็เริ่มจัดตั้งทำแผน หรือแนวรบที่จะช่วยตีกรอบบรรเทา และขจัดเชื้อโรค อย่างมีลำดับขั้นตอน นอกจากนั้นก็มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันกับประเทศอื่นๆ

แต่บางประเทศก็โชคร้ายหน่อย ที่ผู้นำประเทศไม่กล้าตัดสินใจ มัวแต่คิดประหยัดเหมือนกลัวว่าอุปกรณ์ส่องสว่างจะหมด ทำแค่จุดไม้ขีดส่องทางเป็นระยะๆ ในระหว่างคลำทางไปเรื่อยๆ เสมือนการหาวิธีการเยียวยาไปแบบทีละอย่าง เรียกว่าเสี่ยงทำไปก่อน มีปัญหาอะไรค่อยไปว่ากัน

แย่ไปกว่านั้น ผู้นำบางคนก็ไม่มีปัญญาจะนำพาไปไหน ไม่รู้วิธีจะจุดไฟ เอาแต่สั่งให้นั่งรอความช่วยเหลือไปวันๆในความมืด ผู้ติดตามถามอะไรก็ตอบส่งเดชไป พร่ำแต่สั่งการไปเรื่อยเปื่อยไม่มีสาระ เสมือนเป็นการทำงานแบบวิธีปฏิกิริยา (Reaction) คือนั่งรอให้เหตุการณ์เกิดขึ้นก่อน แล้วค่อยตอบสนองไปตามสถานการณ์ ซึ่งการสั่งงานแบบขอไปที แบบนี้ หากไม่มีใครฝ่าเข้ามาช่วย ก็ดูท่าจะรอดยาก

แต่ที่แย่ที่สุดที่เห็นกันก็คือ ผู้นำที่นอกจากจะไม่ทำอะไรแล้ว ยังหันมาหาเรื่องทะเลาะกับผู้ติดตาม หาเรื่องคนนั้นคนนี้ไปทั่ว นัยว่าเบี่ยงเบนความสนใจจากปัญหาที่ติดถ้ำ ให้หันไปสนใจการทะเลาะแทน สับกับการตีหน้าเศร้าเรียกร้องความเห็นใจ เป็นการทำลายขวัญและกำลังใจโดยปริยาย

โดยภาพรวมปัญหาไวรัสโควิด-19 ของทั้งโลก ก็ยังพอจัดได้ว่าเราโชคดี ที่มีผู้นำบางคนเลือกจุดไฟสร้างแสงสว่าง สนับสนุนการวิจัยไวรัส จนสามารถสร้างแผนการ สร้างขั้นตอนการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประเทศของตนพ้นจากปากเหวมรณะไปได้แล้ว หรือไปได้มาก ซึ่งประเทศอื่นๆ สามารถนำความรู้เหล่านี้ไปใช้ต่อสู้กับไวรัสได้ ซึ่งสถานการณ์ไวรัสในวันนี้ของบางประเทศ ก็ค่อยๆ ดีขึ้นทีละเล็กละน้อย

แต่หลังจากใช้มาตรการเข้มงวด จนอัตราผู้ติดเชื้อในประเทศต่างๆ เริ่มลดลงบ้างแล้ว ก็ได้เกิดปัญหาใหญ่สำหรับผู้นำประเทศนั้นๆ ตามมา นั่นก็คือการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังกันไม่ค่อยถูก (Prioritization) ระหว่างจะเร่งมุ่งขจัดโรคร้ายโควิด-19 ให้แล้วเสร็จ หรือจะกอบกู้การถดถอยของเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศก่อนดี

ซึ่งในวันนี้ ก็เริ่มมีผู้นำหลายๆ ประเทศออกมาพูดคุยเรื่องมาตรการผ่อนปรนกันแล้ว ทั้งๆ ที่ยังควบคุมโรคในประเทศไม่ได้อย่างเบ็ดเสร็จ ก็อยากใช้โอกาสนี้ในการยกสุภาษิต “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย” โดยลองคิดถึงก่อนหน้านี้ ที่ผู้นำบางประเทศมัวแต่พะวักพะวงกับเรื่องเศรษฐกิจ ไม่กล้าสั่งปิดเมือง ปิดประเทศ จนสุดท้ายผู้คนกำลังล้มตายไปมากมายต่อหน้าต่อตา จึงค่อยจะมาใช้ยาแรงปิดประเทศภายหลัง ส่งผลให้เศรษฐกิจประเทศตนย่อยยับกว่าประเทศที่เขากล้าทำการปิดประเทศไปแต่ต้น

แน่นอนว่าการใช้มาตรการเข้มงวด อาจจะส่งผลต่อเรื่องอาหารการกิน แต่อย่าลืมว่าการทำการเกษตรยังพอเดินหน้าต่อไปได้ อาหารบนโลกนั้นยังมีเหลือเฟือ ฉะนั้นผู้คนในวันนี้ จะยังไม่ตายเพราะขาดอาหาร แต่จะตายกันหมดโลกแน่ๆ หากผู้นำประเทศต่างๆ ไม่มุ่งมั่นต่อสู้กับโรคร้ายโควิด-19 ให้หมดสิ้นไปอย่างเด็ดขาด

ในวิกฤติโควิด-19 ครั้งนี้ ผู้นำประเทศไทย ก็ถือว่าดวงดี ดวงแข็ง ที่เรามีฝ่ายแพทย์ พยาบาล และพนักงานสาธารณสุข ที่มีความตั้งใจ มีความเสียสละ และมีความสามารถสูง สามารถดำเนินการต่อสู้กับวิกฤติร่วมกับประชาชนไทย จนในระยะต้น ผู้นำแทบจะไม่ต้องลงมือทำอะไรเลย ซึ่งก็ควรยกย่องบุคลากรทางการแพทย์เหล่านี้ว่าเป็นผู้กู้ชาติตัวจริง

บัดนี้ วิกฤติได้เริ่มเข้าระยะกลาง ความเหนื่อยล้าและขาดแคลนก็ได้เกิดขึ้นในระบบสาธารณสุขไทย ผู้นำดวงดีก็น่าจะได้กระโดดลงมือเร่งเสริมความพร้อมและปิดช่องโหว่ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณ สำหรับจัดหาอุปกรณ์ใช้งานทางการแพทย์ให้เพียงพอ รวมไปถึงเงินค่าเสี่ยงภัยพิเศษ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่พวกเขา ไม่ใช่ต้องให้พวกเขาต้องไปประกาศขอรับบริจาคจากสังคมแบบตามมีตามเกิด ที่แปลกคือ ฝ่ายรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย เตรียมเงินเตรียมทองไว้มากมาย เพื่อช่วยผู้คน และวงการธุรกิจ แต่ทำไมไม่จัดงบสักหมื่นล้านบาท เพื่อสร้างความพร้อมให้กับวงการแพทย์อย่างเต็มที่ ก็เท่ากับว่าเรายังวงเวียนอยู่ในถ้ำ

กษิต ภิรมย์

kasitfb@gmail.com




July 09, 2020 at 02:00AM
https://ift.tt/3fdTe57

คอลัมน์การเมือง - ความเป็นผู้นำ ดูกันในยามวิกฤติ - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://ift.tt/30ndKvp


Bagikan Berita Ini

0 Response to "คอลัมน์การเมือง - ความเป็นผู้นำ ดูกันในยามวิกฤติ - หนังสือพิมพ์แนวหน้า"

Post a Comment

Powered by Blogger.