“สมหมาย” ชำแหละความพยายามจัดซื้อเรือดำน้ำของรัฐบาล 2 ลำ เตือน”วิกฤตการคลัง” ระวังความหายนะของคนไทยทั้งประเทศ
นายสมหมาย ภาษี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โพสต์ข้อความระบุว่า “ดูน้ำใจของรัฐบาลที่มีต่อคนยากจนจากความพยายามซื้อเรือดำน้ำ 2 ลำ”
ความพยายามในการซื้อเรือดำน้ำของรัฐบาล คสช. และรัฐบาลสืบทอดอำนาจในสมัยนี้มีมาอย่างต่อเนื่องและก็เป็นข่าวครึกโครมมาตลอด ความพยายามที่จะซื้อลำแรกเกิดขึ้นช่วงต้นปี 2558 แต่ถูกกระทรวงการคลังและรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจสมัยนั้นทำหนังสือคัดค้านไปถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เรือดำน้ำก็ไม่โผล่เข้าคณะรัฐมนตรีในครั้งนั้น
ความพยายามในการซื้อเรือดำน้ำของรัฐบาล คสช. และรัฐบาลสืบทอดอำนาจในสมัยนี้มีมาอย่างต่อเนื่องและก็เป็นข่าวครึกโครมมาตลอด ความพยายามที่จะซื้อลำแรกเกิดขึ้นช่วงต้นปี 2558 แต่ถูกกระทรวงการคลังและรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจสมัยนั้นทำหนังสือคัดค้านไปถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เรือดำน้ำก็ไม่โผล่เข้าคณะรัฐมนตรีในครั้งนั้น
จนกระทั่งทีมเศรษฐกิจทั้งชุดของรองนายกฯ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ถูกปรับออกทั้งชุดเมื่อเดือนสิงหาคม 2558 และมีการเปลี่ยนทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ภายใต้การนำของท่านนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ ข่าวการซื้อเรือดำน้ำลำแรกก็โผล่ไปเข้าคณะรัฐมนตรีอนุมัติจนได้ในช่วงประมาณกลางปี 2560 การซื้อเรือดำน้ำลำแรกนี้ก็เพียงแค่การวางเงินมัดจำ ที่เหลือก็ผ่อนชำระ 6-7 ปี จากงบผูกพันงบประมาณล่วงหน้า ผ่อนจบก็ต่อเรือเสร็จพร้อมส่งมอบ
ถ้าท่านผู้อ่านจำได้ เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ซึ่งยังไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากประชาชนมาคอยตรวจเช็กเหมือนสมัยนี้ แต่ก็มีผู้คัดค้านมากพอควรโดยเฉพาะสื่อต่างๆ ของไทย หัวข้อที่วิจารณ์กันก็ซ้ำๆ กับทุกวันนี้ เช่น ภาวะการคลังของประเทศยังไม่ดี ไม่อยู่ในฐานะที่จะซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ที่แพงและไม่มีความจำเป็นต้องใช้ได้ และประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังยากจนอยู่มากการซื้ออาวุธแบบจีทูจี
ประเด็นที่สำคัญอีกอย่างคือ การซื้ออาวุธแบบจีทูจี คือซื้อระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล จริงหรือเปล่า เพราะตามที่สื่อไทยรู้จักกันว่า ถ้าเป็นการซื้อขายแบบจีทูจีแล้ว ก็ไม่ต้องไปสงสัยว่าจะมีค่าคอมมิสชั่นระดับ 10-20% แฝงอยู่ ซึ่งความเข้าใจของคนไทยในเรื่องนี้ฝังแน่น โดยใช้เกณฑ์การขายข้าวของไทยมาเป็นตัวอย่าง โดยหารู้ไม่ว่าการซื้อขายจีทูจีเดี๋ยวนี้ ได้ถูกดัดแปลงเป็นขายผ่านบริษัทกันได้ โดยเฉพาะของจีนบริษัทใหญ่ๆ แทบทุกแห่งเป็นรัฐวิสาหกิจหรือรัฐบาลมีหุ้นทั้งนั้น การจัดการในเรื่องสร้างสิ่งจูงใจให้ประเทศที่นักการเมืองชอบคอมมิสชั่นอยากซื้อ จึงทำกันได้อย่างสบาย ดังนั้น นักการเมืองทั้งหลายโปรดรู้จุดเหล่านี้ให้มากหน่อย จะได้ไม่ต้องมาโต้เถียงกันให้เสียเวลา
กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ของโลก 37 ประเทศที่เรียกว่า กลุ่มองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ Organization for Economic Cooperation and Development (OECD) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี แคนาดา เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น เป็นต้น ได้พยายามหาวิธีการป้องกันการค้าขายระหว่างประเทศที่สะอาดปราศจากการจ่ายใต้โต๊ะ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และในที่สุดในช่วงประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา ก็ได้กำหนดกฎเกณฑ์ในเรื่องนี้ชัดขึ้น มีการตรวจเช็กโดยสถาบันอิสระ และตรวจเช็กกันเอง บริษัทที่ขายสินค้าระหว่างประเทศ ไม่ใช่เฉพาะอาวุธยุทโธปกรณ์ ยังรวมทั้งสินค้าอื่นๆ เช่น เครื่องบิน เครื่องผลิตไฟฟ้า ใหญ่ๆ รถไฟและรถไฟความเร็วสูง ฯลฯ ใครผู้ใด ประเทศใดฝ่าฝืน ถูกจับได้ก็จะถูกประณาม ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือกันดี
แต่กฎเกณฑ์เหล่านี้ก็ถูกยอมรับและปฏิบัติกันในกลุ่ม OECD เท่านั้น แต่ประเทศนอกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นประเทศจีน รัสเซีย ยูเครน และเกาหลีใต้ เป็นต้น ก็ยังมีการปฏิบัติการในการซื้อขายเหมือนเดิม คือมีการจัดสิ่งจูงใจได้อย่างแพร่หลาย โดยให้บริษัทรับไปมุบมิบกันเอง บรรดาประเทศกำลังพัฒนาที่ชื่นชอบเรื่องนี้อยู่แล้วก็หันมาซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์จากประเทศเหล่านี้กันมาก
ลองไปตรวจสอบการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในช่วงตั้งแต่มี คสช.กันบ้าง ก็จะเห็นว่านอกจากเรือดำน้ำแล้ว บรรดารถถังหุ้มเกราะ เครื่องบินรบ และยุทโธปกรณ์ต่างๆ ทางกองทัพโดยผู้นำประเทศและรัฐมนตรีกลาโหมเป็นพลเอกมาตั้งแต่เริ่มปฏิวัติจนถึงบัดนี้ ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมาได้มีการซื้ออาวุธจากประเทศนอกกลุ่ม OECD กันมากแค่ไหน
การซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์แบบผ่อนส่งเพิ่มภาระหนักมากให้กับงบประมาณของประเทศในอนาคต
อย่างที่รู้ๆ กันแล้วว่างบประมาณสมัยนี้ซึ่งได้รวมงบผูกพันล่วงหน้าหรืองบแบบผ่อนส่ง ได้รวมการซื้ออุปกรณ์และการลงทุนแบบผ่อนส่งมากมาย ทั้งในกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย ของกระทรวงมหาดไทยนี้เข้าใจว่าเป็นอุปกรณ์และอาวุธเบาที่ใช้สู้กับผู้ก่อการร้ายภาคใต้ ก็ใช้วิธีซื้อกันแบบนี้ และกระทรวงที่มีงบผูกพันสูงมากสุดคือ กระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นงบลงทุนสร้างรถไฟและถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ กระทรวงนี้สูงก็พอรับได้ เพราะเป็นการลงทุนที่เห็นประโยชน์ชัดเจน
ลองดูตัวเลขที่มาจากเอกสารงบประมาณตามตารางดูซิครับ ว่างบผูกพันหรือตอนนี้อาจเรียกได้ว่างบผูกคอการคลังของประเทศที่เข้าสู่ภาวะวิกฤตอยู่แล้วให้รัดแน่นเพิ่มความวิกฤตการคลังให้มากขึ้นอีกขนาดไหนใน 5-6 ปีข้างหน้า
ดูตัวเลขเหล่านี้แล้วน่าเวทนาสถานการณ์การคลังของไทยมาก หากงบผูกพันมีจำนวนถึงประมาณ 65% ของรายได้จากภาษีอากรที่จะจัดเก็บได้แม้จะทยอยจ่าย แต่ที่สุดแล้วจะเหลือรายได้ที่จะใช้จัดสรรในการทำนุบำรุงประเทศของกระทรวงต่างๆ ได้แค่ไหน จะหวังพึ่งเงินกู้ชดเชยการคลังขาดดุล ซึ่งเห็นอยู่ชัดๆ ว่าในแต่ละปีงบประมาณที่จำเป็นต้องจัดตั้งในงบกลางซึ่งรวมงบก้อนใหญ่เพื่อสวัสดิการบำเหน็จบำนาญของข้าราชการเกษียณที่อายุยืน และงบลับ เป็นจำนวนมากมหาศาล อย่างปีงบประมาณ 2564 งบกลางมีจำนวนถึง 615,000 ล้านบาท นอกจากงบกลางแล้ว ยังมีงบชำระหนี้ของรัฐบาลอีก 293,454 ล้านบาท ซึ่งงบนี้ไม่ใช่เป็นงบที่ตั้งเพื่อชำระหนี้ที่ครบกำหนดทั้งหมด เพราะหนี้ของรัฐที่ครบกำหนดกว่าสองในสาม ถูกบริหารให้มีการกู้เงินใหม่มาคืนหนี้เก่าทุกๆ ปี
นอกจากนี้ ยังต้องตั้งงบอุดหนุนท้องถิ่นทั้งประเทศอีกปีละไม่ต่ำกว่า 250,000 ล้านบาท รวมงบทั้ง 3 ประเภทนี้แล้วก็ปาเข้าไปไม่น้อยกว่า 1.0 ล้านล้านบาท เข้าไปแล้ว มากกว่างบเงินกู้มาชดเชยการขาดดุลทั้งหมดเสียอีก อย่างนี้ไม่เรียกว่า “วิกฤตการคลัง” แล้วจะเรียกว่าอะไรกันครับ และวิกฤตการคลังนี้ไม่ใช่เพิ่งเริ่มเกิดนะครับ แต่ได้ส่อเค้าให้เห็นมา 7-8 ปีแล้ว ในอนาคตอีก 4-5 ปีข้างหน้ามีแต่จะหนักยิ่งขึ้น ความอดสูและความหายนะของคนไทยทั้งประเทศ
ผมเห็นว่า การจะเดินหน้าซื้อเรือดำน้ำอีก 2 ลำ วงเงิน 22,500 ล้านบาท ที่ท่านผู้ยิ่งใหญ่บอกกับสื่อว่าจำเป็นอย่างยิ่ง และท่านรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมก็พยายามชี้ให้ประชาชนฟังแบบรักษาเนื้อรักษาตัวว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องซื้อ
ผมดูเรื่องนี้มาตลอดเพราะเคยค้านรัฐบาลตามหน้าที่ตั้งแต่การจัดซื้อเรือดำน้ำลำแรก ผมไม่แปลกใจเลยว่าการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์แบบหนักหน่วง โดยนำความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาอ้างนั้น ไม่มีเหตุผลของการต่อต้านจากประชาชนข้อใดเลยที่จะเอาชนะสิ่งจูงใจของผู้ที่อยากซื้อ ซึ่งอาจมีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องนี้ มันมากมายยิ่งใหญ่กว่าซึ่งสามารถบดบังความเห็นอกเห็นใจประชาชนคนจนและคนว่างงานที่มีอยู่ดกดื่นอย่างกระจองอแงอย่างสิ้นเชิง
ผมพยายามเทียบกับสมัยรัฐบาลท่านนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย ในช่วงหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ที่ท่านได้ส่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ท่านธารินทร์ นิมมานเหมินท์ ไปเจรจากับผู้นำสหรัฐ และผมเองก็ได้มีโอกาสติดตามไปทำเนียบขาวด้วย ท่านรัฐมนตรีคลังได้ไปเจรจากับประธานาธิบดีบิล คลินตัน ในห้องทำงานรูปไข่ เพื่อยกเลิกสัญญาซื้อเครื่องบินรบ F18 เครื่องบินขับไล่รุ่นนี้สามารถร่อนลงบนเรือบรรทุกเครื่องบินได้ ซึ่งรัฐบาลไหนเป็นผู้สั่งซื้อ ผมไม่ทราบ ท่านอาจคิดว่าสักวันไทยเราจะสามารถซื้อเรือบรรทุกเครื่องบินมาใช้งานได้กระมัง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลของสหรัฐยอมให้ไทยยกเลิกสัญญา แต่เงินมัดจำ 15 หรือ 20 เปอร์เซ็นต์ ห้ามเรียกคืน แต่ยอมให้ซื้ออาวุธอื่นๆ จากสหรัฐได้
ครั้งนี้คนไทยโดนผลกระทบจากโควิด-19 อย่างรุนแรง ส่งผลทำให้ธุรกิจต่างๆ และประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจำนวนมากทรุดต่ำลงอย่างไม่เคยเห็นมาก่อน ความตั้งใจอย่างแน่วแน่ของผู้นำรัฐบาลผสมที่จะซื้อเรือดำน้ำอีก 2 ลำนี้ แม้จะมีมติยกเลิกหรือเลื่อน หรือจะเป็นอย่างไรก็ตาม ได้ชี้ให้เห็นความคิดส่วนลึกของผู้นำไทยและพวกพ้องว่ามีความเห็นอกเห็นใจ มีความตั้งใจจะช่วยคนจนอันดาษดื่นของประเทศด้วยใจจริงแค่ไหน เรื่องนี้จะเป็นดราม่าที่เข้ากับคำกล่าวโบราณที่ว่า “ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา”
อ่านข่าวเพิ่มเติม
August 30, 2020 at 07:57PM
https://ift.tt/3lyQxij
'สมหมาย ภาษี' ชำแหละรัฐบาล แนะดูน้ำใจที่มีต่อคนจน จากความพยายามซื้อเรือดำน้ำ 2 ลำ - thebangkokinsight.com
https://ift.tt/30ndKvp
Bagikan Berita Ini
0 Response to "'สมหมาย ภาษี' ชำแหละรัฐบาล แนะดูน้ำใจที่มีต่อคนจน จากความพยายามซื้อเรือดำน้ำ 2 ลำ - thebangkokinsight.com"
Post a Comment