Search

คอลัมน์โลกธุรกิจ - พลิกวิกฤติโควิด-19เป็นโอกาสท่องเที่ยวชุมชน กระจายความมั่งคั่งสู่ทุกพื้นที่ของประเทศไทย - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

hiburansemataaja.blogspot.com

nn ผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19ที่ทำให้มีการล็อกดาวน์กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งด้านการค้าและการลงทุนทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วยซึ่งแน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และมีการประเมินกันว่าปีนี้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยจะติดลบถึง 8% จึงไม่แปลกใจที่ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านจนถึงวันนี้เราจะเห็นข่าวกิจการต่างๆ ทั้งภาคการค้า การลงทุน ปิดตัวลง คาดกันว่าจะมีคนไทยกลายเป็นคนว่างงานเพิ่มขึ้นกว่า 8 ล้านคน และคนที่ตกงานจากภาคอุตสาหกรรมและการค้าจากเมืองใหญ่ส่วนใหญ่ก็เป็นคนที่มาจากต่างจังหวัด และในสภาพที่เศรษฐกิจโลกและไทยต้องใช้เวลากว่า 2-3 ปีจึงจะกลับฟื้นคืนมาเหมือนก่อนที่จะเกิดการระบาดของโควิด-19 จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่จะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ ดังนั้นแรงงานเหล่านี้หลายล้านคนก็ต้องกลับไปยังภูมิลำเนาเดิม คำถามสำคัญคือเมื่อกลับไปแล้วจะทำอย่างไรให้คนเหล่านี้มีอาชีพ

แน่นอนพื้นฐานสังคมไทยในชนบทคือภาคการเกษตร และบางพื้นที่ก็มีแข็งในเรื่องของการท่องเที่ยว ในเรื่องของการเกษตรอาจจะรองรับได้ระดับหนึ่ง เพราะบางคนก็ไม่เหลือที่ดินสำหรับทำกินแล้ว ดังนั้นก็ต้องกลับมองเรื่องการท่องเที่ยว เพราะอย่างที่บอกว่าหลายพื้นที่ของไทยมีศักยภาพมากด้านการท่องเที่ยวและมีจุดเด่นที่หลากหลายแตกต่างกันไป เช่น เรื่องอาหาร วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติที่สวยงามฯลฯ แน่นอนเมื่อทำให้การท่องเที่ยวในชุมชนเข้มแข็งก็จะสามารถสร้างการจ้างงานให้คนในพื้นที่และแรงงานที่ตกงานไปจากเมืองใหญ่ได้ด้วย....อีกคำถามสำคัญคือแล้วจะทำอย่างไร????

ประเทศไทยมี...การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ทำหน้าที่เป็นองค์กรที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในภาพรวมของประเทศ...และมี องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ทำหน้าที่พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละชุมชนทั้งประเทศ ซึ่งหากว่า อพท.ทำงานสำเร็จได้มากเท่าไหร่ ความมั่งคั่งของธุรกิจท่องเที่ยวก็จะกระจายออกไปทั่วทุกภูมิภาคมากเท่านั้น ไม่ใช่กระจุกตัวอยู่แต่ในเฉพาะในเมืองท่องเที่ยวหลัก

และล่าสุด อพท. ก็ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงเบื้องต้น(MOU) ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ สศส. เพื่อพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ (Creative City) ตามแนวทางขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก และตามแนวทางของแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระยะที่ 1(พ.ศ.2563-2565) เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากร วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น

อพท.ได้วางเป้าหมายดำเนินการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ เพื่อเสนอเข้าเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ของยูเนสโก ในเบื้องต้น 5 เมือง โดยเมืองสุโขทัย ได้รับคัดเลือกจากยูเนสโกเข้าเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ไปแล้วเมื่อเดือนตุลาคม 2562 และขณะนี้ยังเริ่มเตรียมความพร้อมและพัฒนาอีก 4 พื้นที่ ได้แก่ 2 เมืองแรก คือ พื้นที่จังหวัดน่าน และพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี คาดว่าจะยื่นเสนอต่อยูเนสโกในปีงบประมาณ 2564 และอีก 2 เมืองต่อไปคือ พื้นที่จังหวัดเพชรบุรี และพื้นที่จังหวัดเชียงราย ตั้งเป้าหมายยื่นเสนอภายในปี 2566

“หลักการคิดเพื่อการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ คือทำให้ความคิดได้เกิดการกระจายทั่วพื้นที่ในแหล่งชุมชน ชุมชนใดมีความพร้อมด้านทุนทางวัฒนธรรมอะไร ก็สามารถมาต่อยอดด้วยการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ นำมาซึ่งการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ฉะนั้นเมืองสร้างสรรค์จึงถือเป็นเครื่องมือของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ ที่จะนำมาซึ่งการยกระดับคุณภาพชีวิต เพราะถ้าคนมีรายได้ เกิดการจ้างงาน เศรษฐกิจก็จะเกิดการหมุนเวียน”

จากนี้ไปในภาวะที่ไทยยังไม่สามารถพึ่งพาตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ รัฐบาลจึงได้พยายามออกมาตรการต่างๆ มากระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวภายในประเทศ ซึ่ง อพท. เตรียมนำหลักการตลาดมาผสมกับแนวทางการพัฒนาชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว ให้สอดรับกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ในช่วงที่ยังต้องเฝ้าระวังการระบาดของ โควิด-19 โดย อพท. จะร่วมมือกับภาคีผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดท่องเที่ยว เช่น สมาคมผู้ประกอบการท่องเที่ยวต่างๆ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. เข้ามาร่วมให้ความรู้แก่ชุมชน พัฒนาโดยใช้กิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชนนั้นๆ เป็นตัวกำหนดว่าจะเหมาะรองรับนักท่องเที่ยวในกลุ่มไหน เพราะจากนี้ไปพฤติกรรมการท่องเที่ยวจะปรับเปลี่ยนการท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่จะลดลงปรับเป็นท่องเที่ยวในกลุ่มขนาดเล็กเพื่อความปลอดภัย กลุ่มแรกที่จะเดินทางท่องเที่ยวคือ กลุ่มท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและผจญภัยและกลุ่มท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่ง อพท. มี 81 ชุมชน ที่พัฒนาและพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ได้ แบ่งเป็น14 ชุมชนในพื้นที่พิเศษ และอีก 67 ชุมชนในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวทั้ง 8 คลัสเตอร์ ในที่นี้ได้รวม 4 ชุมชนในพื้นที่คลองดำเนินสะดวก 6 ชุมชน ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 6 ชุมชนในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า

ในเดือนกรกฎาคมนี้ อพท. จะร่วมมือกับ 1 สภา และ 6 สมาคมผู้ประกอบการท่องเที่ยว ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (ATTA) สมาคมผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวอาเซียน (ASEANTA) สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (TTAA) สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (TEATA) และสมาคมไทยท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ (TRTA)จัดส่งบุคลากรลงพื้นที่พัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวให้กับ 40 ชุมชน ในพื้นที่พิเศษและในเขตพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวอย่างน้อย 20 เส้นทาง โครงการดังกล่าว ยังมีการพัฒนานักสื่อความหมายท้องถิ่น โดยใช้มัคคุเทศก์อาชีพ มาเป็นวิทยากรให้การอบรมแก่ชุมชน เช่นกัน

เป้าหมายสำคัญมี 2 ประเด็น คือ 1.ได้เพิ่มศักยภาพให้กับแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนและได้ช่วยเหลือผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ได้มีรายได้จากการเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องการตลาดท่องเที่ยว และความเชี่ยวชาญในการจัดทำเส้นทางท่องเที่ยว2.เมื่อสถานการณ์ท่องเที่ยวกลับสู่ภาวะปกติผู้ที่เป็นวิทยากร จะนำเส้นทางที่ตนเองได้ร่วมกับชุมชนพัฒนาขึ้นมาในครั้งนี้ ไปเสนอขายแก่นักท่องเที่ยว...โครงการถือเป็นการนำร่องที่ดี ซึ่งหากว่าได้ผลตอบรับที่ดี ในปีต่อๆ ไป อพท. ก็ควรจะจัดกิจกรรมนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับมาตรฐานด้านการตลาดให้แก่ชุมชนท่องเที่ยวที่ อพท. พัฒนาขึ้นมา และจะเป็นการตอบโจทย์ของการกระจายความมั่งคั่งไปสู่ท้องถิ่นที่เห็นผลได้ชัดเจนที่สุด

กระบองเพชร




July 01, 2020 at 06:00AM
https://ift.tt/2YLhbLj

คอลัมน์โลกธุรกิจ - พลิกวิกฤติโควิด-19เป็นโอกาสท่องเที่ยวชุมชน กระจายความมั่งคั่งสู่ทุกพื้นที่ของประเทศไทย - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://ift.tt/2VxIbuS


Bagikan Berita Ini

0 Response to "คอลัมน์โลกธุรกิจ - พลิกวิกฤติโควิด-19เป็นโอกาสท่องเที่ยวชุมชน กระจายความมั่งคั่งสู่ทุกพื้นที่ของประเทศไทย - หนังสือพิมพ์แนวหน้า"

Post a Comment

Powered by Blogger.